Na : โซเดียม
ภาพรวมของเนื้อหา :
แก้ไขดินที่มีปริมาณโซเดียมอยู่สูง โดยเติมสารเคมีลงไปในดินเพื่อไปทำปฎิกิริยากับโซเดียม
อัปเดท ( 16 กุมภาพันธ์ 2554 ) , แสดง (67,176) , ความคิดเห็น (3) , พิมพ์


ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข โซเดียม, Na, 11
อนุกรมเคมี โลหะอัลคาไล
หมู่, คาบ, บล็อก 1, 3, s
ลักษณะ ขาวเงิน
Na,11.jpg
มวลอะตอม 22.98976928 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Ne> 3s1
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 1

คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 0.968 ก./ซม.³
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 0.927 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 370.87 K
(97.72 °C)
จุดเดือด 1156 K(883 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 2.60 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 97.42 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 28.230 J/(mol·K)

คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก cubic body centered
สถานะออกซิเดชัน 1
(ออกไซด์เป็นเบสแก่)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 0.93 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน
(เพิ่มเติม) ระดับที่ 1: 495.8 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 4562 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 6910.3 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 180 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 190 pm
รัศมีโควาเลนต์ 154 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 227 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก paramagnetic
ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 47.7 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 142 W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 71 µm/(m·K)
ความเร็วเสียง (ท่อนบาง) (20 °C) 3200 m/s
โมดูลัสของยังก์ 10 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน 3.3 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด 6.3 GPa
ความแข็งโมห์ส 0.5
ความแข็งบริเนล 0.69 MPa
เลขทะเบียน CAS 7440-23-5

โซเดียม (อังกฤษ: Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาเยอรมัน[1>) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน ทำปฏิกิริยาได้ว่องไว  และอยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะเฮไลต์). โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง  ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน

solation

โซเดียม ปกติแล้วจะอยู่ในรูปของเกลือ (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) ซึ่งมีปริมาณมากมายอยู่ใต้พื้นโลก (เหมืองเกลือ) อยู่ในน้ำทะเล และน้ำแร่ธรรมชาติอื่นๆ มันง่ายที่จะถูกนำมาทำเป็นของแข็งโดยการทำให้แห้ง

โซเดียมคลอไรด์ (NaCl - sodium chloride) มีจุดหลอมเหลวสูง (มากกว่า 800 °C)  ซึ่งก็หมายความว่ามันเปลืองมากที่จะละลายโซเดียมคลอไรด์เพื่อที่จะใช้วิธีอิเล็กโทรลิซิส (electrolysis คือวิธีการแยกวัตถุเหลวด้วยไฟฟ้า) อย่างไรก็ตาม ของผสมระหว่าง NaCl(40%) กับ CaCl2(60%) ละลายที่ประมาณ 580 °C และการใช้วิธีอิเล็กโทรลิซิสก็ต้องการพลังงานที่น้อยกว่าและใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

cathode: Na+(l) + e- Na (l)

anode: Cl-(l) 1/2Cl2 (g) + e-

 

การปรับปรุงดินทางด้านเคมี เพื่อใช้ทำเกษตรกรรม
เป็นการแก้ไขดินที่มีปริมาณโซเดียมอยู่สูง โดยเติมสารเคมีลงไปในดินเพื่อไปทำปฎิกิริยากับโซเดียมโดยเข้าไปไส่ที่โซเดียมในดินเกิดเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ดีและสารประกอบที่ตกตะกอน สารเคมีที่ใช้ได้แก่

3.1 คัลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) และยิบซั่ม (CaSO4) เป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ง่าย เมื่อใส่สารดังกล่าวลงไปในดินเค็มจะไปทำปฏิกิริยากับ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ที่ปะปนอยู่ในดินเค็ม เกิดเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ดี เช่นโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)หรือโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) สามารถถูกน้ำชะล้างได้ และสารประกอบที่ละลายน้ำได้ยาก เช่น หินปูน (CaCO3) ดังสมการ
โซเดียม ในดิน ในพืช Na
โซเดียม ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย พืช

3.2 การใช้กรดกำมะถัน (H2SO4) กรดกำมะถันที่ได้จะทำปฏิกิริยากับ โซเดียมคาร์บอเนตที่อยู่ในดินได้สารประกอบโซเดียมซัลเฟต ที่สามารถละลายน้ำได้ง่าย ดังสมการ

ตรวจ ค่า โซเดียม Na ในดิน

3.3 การใช้หินปูน (CaCO3) ปรับปรุงดินโซดิก ใส่หินปูนและกำมะถันลงไปในดินกำมะถัน จะทำปฎิกิริยากับน้ำเกิดเป็นกรดกำมะถัน กรดกำมะถันจำทำปฏิกิริยากับหินปูน ได้สารประกอบยิปซั่ม สารประกอบยิบซั่มที่ได้จะไปทำปฎิกิริยากับดินเค็มจะได้สารประกอบที่ละลายน้ำง่ายและสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ดังสมการ
แก้ปัญหา ดิน เปรี้ยว ดิน เค็ม ลดโซเดียม

(X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต เป็นต้น)

3.4 การใส่เหล็กซัลเฟตลงไปในดินเค็ม ดังสมการ

โซเดียม ในดิน

( X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต เป็นต้น )

3.5 การใส่คัลเซียมลงไปในดิน ดังสมการ
โซเดียม ตรวจดิน ตรวจปุ๋ย

(X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต )

อ้างอิง
http://dekbanna.ob.tc/-View.php?N=42
http://www.nsru.ac.th/



เขียนโดย : FarmKaset.ORG


tikboyo 23 ก.ย. 2555 , 08:58 PM
ได้รู้ว่ามีอะไรที่แต่ต่างจากธาตุอื่นๆ

อธิษยา 14 ก.ย. 2554 , 05:48 PM
ได้ช่วยให้มีความรู้มากขึ้น

อธิษยา 14 ก.ย. 2554 , 05:48 PM
ได้ช่วยให้มีความรู้มากขึ้น
1



ชื่อ: *
อีเมล: *
 
ความเห็น: *
ป้องกัน Spam: * < พิมพ์คำว่า คนไทย
   

ชั้นวางหนังสือ iLab.Asia

คุณรู้หรือไม่?
ในรายการวิเคราะห์เป็นวิธีการจากสำนักวิเคราะห์ทางเคมีสากล (AOAC) และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสากล (ASTM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของกลุ่มประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิก (APLAC) สากล (ILAC) และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลก ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังเป็นวิธีการใช้อ้างอิงในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

Fast & Firm
ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และเครื่องมือที่ทันสมัย ภายใต้การทำงานในระบบ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
ตรวจดิน: ด้วยเครื่องมือตรวจดินที่ทันสมัย