ธาตุแมกนีเซียม ในดิน
ภาพรวมของเนื้อหา :
แมกนีเซียม เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในกลุ่มของธาตุอาหารรองเช่นเดียวกับธาตุคัลเซียม
อัปเดท ( 21 กุมภาพันธ์ 2554 ) , แสดง (11,115) , ความคิดเห็น (0) , พิมพ์


แมกนีเซียม เป็นธาตุอาหารที่อยู่ในกลุ่มของธาตุอาหารรองเช่นเดียวกับธาตุคัลเซียม ซึ่งมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจากแมกนีเซียมเป็นองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ เพื่อช่วยในขบวนการสังเคราะห์แสง กระบวนการหายใจ ช่วยในการทำงานของระบบ เอนไซม์และช่วยในการดูดธาตุฟอสฟอรัส และช่วยในการเคลื่อนที่ของน้ำตาลในพืช รูปของแมกนีเซียมในดิน  แมกนีเซียมที่อยู่ในดินแบ่งออกเป็น 2 รูปใหญ่ๆคือ

1. อินทรียแมกนีเซียม พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของไพติน (phytin) และ แมกนีเซียมเพคเตต (magnesium pectate) ถ้าพืชสามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้จะต้องถูกจุลินทรีย์ย่อยสลายเปลี่ยนจากอินทรียแมกนีเซียมไปเป็นอนินทรียแมกนีเซียมอยู่ในรูปของแมกนีเซียมไอออน 

2. อนินทรียแมกนีเซียม ประกอบด้วยแมกนีเซียมที่ละลายยากได้แก่ แมกนีเซียมที่มา
จากหินและแร่ได้แก่แร่ไบโอทิน [K (Mg , Fe)3 (Al Si3O10(OH)2] เซอร์เพนทีน [Mg6Si4O10 (OH)8] และ โดโลไมต์ [CaMg(CO3)2] เมื่อแร่ผุพังสลายตัวจะให้ แมกนีเซียมไอออน ลงไปในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้คือแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ แมกนีเซียมประเภทนี้จะถูกยึดติดบริเวณผิวของคอลลอยด์เมื่อแมกนีเซียมไอออนในสารละลายในดินสูญหายไปโดยพืชหรือจุลินทรีย์ แมกนีเซียมชนิดนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาเพื่อรักษาภาวะสมดุล (ภาพที่ 9.3) และสารละลายแมกนีเซียมไอออน ในดิน พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง

ธาตุแมกนีเซียมในดิน

ภาพแสดงการแลกเปลี่ยนระหว่างแมกนีเซียมไอออน ที่ถูกยึด
ติดบริเวณ ผิวของคอลลอยด์ กับแมกนีเซียมไอออน ในสารละลาย

ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ของแมกนีเซียมในดิน
                แมกนีเซียมที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะอยู่ในรูปของแมกนีเซียมไอออน ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนระหว่างแมกนีเซียมในสารละลายและแมกนีเซียมที่ยึดเหนียวอยู่บริเวณผิวของแร่ดินเหนียว ปัจจัยที่ควบคุมความเป็นประโยชน์ต่อพืชของแมกนีเซียมได้แก่ จำนวนแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ที่มีอยู่ในดิน ความมากน้อยในการอิ่มตัวด้วยแมกนีเซียมในดินนั้น ชนิดของคอลลอยด์ของดิน และธรรมชาติของไอออนบวกชนิดอื่นๆถูกดูดยึดร่วมกับแมกนีเซียมไอออน

อาการของพืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม
                พบใบล่าง (ใบแก่) ที่ขอบใบ และระหว่างเส้นใบ (vein) จะเป็นสีซีด ๆ สีขาวใส แผ่นใบจะมีสีเหลือง ใบจะเล็กลง ฉีกขาดง่าย กิ่ง ก้าน ของพืชอ่อนแอทำให้เชื้อราได้ ทำให้ใบแก่เร็วเกินไป เมื่อพืชมีอาการขาดธาตุแมกนีเซียมสามารถทำได้ดังต่อไปนี้ ใส่ปุ๋ยคอก ใส่ปุ๋ยเคมี
ประเภท แมกนีเซียมคาร์บอเนต (MgCO3) แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) และ คีเลต - แมกนีเซียม (Mg – EDTA)

อ้างอิง : http://www.nsru.ac.th



เขียนโดย : FarmKaset.ORG




ชื่อ: *
อีเมล: *
 
ความเห็น: *
ป้องกัน Spam: * < พิมพ์คำว่า คนไทย
   

ชั้นวางหนังสือ iLab.Asia

คุณรู้หรือไม่?
ในรายการวิเคราะห์เป็นวิธีการจากสำนักวิเคราะห์ทางเคมีสากล (AOAC) และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสากล (ASTM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของกลุ่มประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิก (APLAC) สากล (ILAC) และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลก ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังเป็นวิธีการใช้อ้างอิงในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

Fast & Firm
ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และเครื่องมือที่ทันสมัย ภายใต้การทำงานในระบบ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
ตรวจดิน: ด้วยเครื่องมือตรวจดินที่ทันสมัย