ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข โซเดียม, Na, 11
อนุกรมเคมี โลหะอัลคาไล
หมู่, คาบ, บล็อก 1, 3, s
ลักษณะ ขาวเงิน
Na,11.jpg
มวลอะตอม 22.98976928 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Ne> 3s1
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 1
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 0.968 ก./ซม.³
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 0.927 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 370.87 K
(97.72 °C)
จุดเดือด 1156 K(883 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 2.60 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 97.42 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 28.230 J/(mol·K)
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก cubic body centered
สถานะออกซิเดชัน 1
(ออกไซด์เป็นเบสแก่)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 0.93 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน
(เพิ่มเติม) ระดับที่ 1: 495.8 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 4562 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 3: 6910.3 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 180 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 190 pm
รัศมีโควาเลนต์ 154 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 227 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก paramagnetic
ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 47.7 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 142 W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 71 µm/(m·K)
ความเร็วเสียง (ท่อนบาง) (20 °C) 3200 m/s
โมดูลัสของยังก์ 10 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน 3.3 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด 6.3 GPa
ความแข็งโมห์ส 0.5
ความแข็งบริเนล 0.69 MPa
เลขทะเบียน CAS 7440-23-5
โซเดียม (อังกฤษ: Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาเยอรมัน[1>) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน ทำปฏิกิริยาได้ว่องไว และอยู่ในกลุ่มโลหะอัลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะเฮไลต์). โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน
solation
โซเดียม ปกติแล้วจะอยู่ในรูปของเกลือ (โซเดียมคลอไรด์ NaCl) ซึ่งมีปริมาณมากมายอยู่ใต้พื้นโลก (เหมืองเกลือ) อยู่ในน้ำทะเล และน้ำแร่ธรรมชาติอื่นๆ มันง่ายที่จะถูกนำมาทำเป็นของแข็งโดยการทำให้แห้ง
โซเดียมคลอไรด์ (NaCl - sodium chloride) มีจุดหลอมเหลวสูง (มากกว่า 800 °C) ซึ่งก็หมายความว่ามันเปลืองมากที่จะละลายโซเดียมคลอไรด์เพื่อที่จะใช้วิธีอิเล็กโทรลิซิส (electrolysis คือวิธีการแยกวัตถุเหลวด้วยไฟฟ้า) อย่างไรก็ตาม ของผสมระหว่าง NaCl(40%) กับ CaCl2(60%) ละลายที่ประมาณ 580 °C และการใช้วิธีอิเล็กโทรลิซิสก็ต้องการพลังงานที่น้อยกว่าและใช้ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า
cathode: Na+(l) + e- Na (l)
anode: Cl-(l) 1/2Cl2 (g) + e-
การปรับปรุงดินทางด้านเคมี เพื่อใช้ทำเกษตรกรรม
เป็นการแก้ไขดินที่มีปริมาณโซเดียมอยู่สูง โดยเติมสารเคมีลงไปในดินเพื่อไปทำปฎิกิริยากับโซเดียมโดยเข้าไปไส่ที่โซเดียมในดินเกิดเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ดีและสารประกอบที่ตกตะกอน สารเคมีที่ใช้ได้แก่
3.1 คัลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) และยิบซั่ม (CaSO4) เป็นสารเคมีที่ละลายน้ำได้ง่าย เมื่อใส่สารดังกล่าวลงไปในดินเค็มจะไปทำปฏิกิริยากับ โซเดียมคาร์บอเนต (Na2CO3) ที่ปะปนอยู่ในดินเค็ม เกิดเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำได้ดี เช่นโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)หรือโซเดียมซัลเฟต (Na2SO4) สามารถถูกน้ำชะล้างได้ และสารประกอบที่ละลายน้ำได้ยาก เช่น หินปูน (CaCO3) ดังสมการ
3.2 การใช้กรดกำมะถัน (H2SO4) กรดกำมะถันที่ได้จะทำปฏิกิริยากับ โซเดียมคาร์บอเนตที่อยู่ในดินได้สารประกอบโซเดียมซัลเฟต ที่สามารถละลายน้ำได้ง่าย ดังสมการ
3.3 การใช้หินปูน (CaCO3) ปรับปรุงดินโซดิก ใส่หินปูนและกำมะถันลงไปในดินกำมะถัน จะทำปฎิกิริยากับน้ำเกิดเป็นกรดกำมะถัน กรดกำมะถันจำทำปฏิกิริยากับหินปูน ได้สารประกอบยิปซั่ม สารประกอบยิบซั่มที่ได้จะไปทำปฎิกิริยากับดินเค็มจะได้สารประกอบที่ละลายน้ำง่ายและสารประกอบที่ละลายน้ำยาก ดังสมการ
(X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต เป็นต้น)
3.4 การใส่เหล็กซัลเฟตลงไปในดินเค็ม ดังสมการ
( X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต เป็นต้น )
3.5 การใส่คัลเซียมลงไปในดิน ดังสมการ
(X = ซัลเฟต คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต หรือคาร์บอเนต )
อ้างอิง
http://dekbanna.ob.tc/-View.php?N=42
http://www.nsru.ac.th/