ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ : Available Phosphorus
ภาพรวมของเนื้อหา :
ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการมากธาตุหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช...
อัปเดท ( 11 กุมภาพันธ์ 2554 ) , แสดง (27,231) , ความคิดเห็น (0) , พิมพ์


ฟอสฟอรัส (Phosphorus)

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการมากธาตุหนึ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสในดินมีปัจจัยต่าง ๆ ควบคุม เช่น ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน, ชนิดของแร่ดินเหนียว เป็นต้น ปริมาณของฟอสฟอรัสที่วิเคราะห์ได้โดยการสกัดดินด้วยน้ำยาต่างๆ เป็นค่าของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ ค่านี้จะมีประโยชน์ต่อเมื่อทดลองแล้วว่ามี correlation กับการตอบสนองของพืช วิธีที่ใช้น้ำยาสกัดที่นิยมในปัจจุบัน Bray II ( Bray and Kurtz ,1945) ระดับปริมาณของฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (P.A.)

ระดับ ระดับ P.A.(ppm)
ต่ำ < 10
ปานกลาง 10 - 25
สูง > 25



ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2523)

Available Phosphorus
อุปกรณ์และเครื่องมือ

1 Spectrophotometer
2 ตู้อบสารเคมี
3 shaking machine
4 Volumetric flask ขนาด 50 มล.
5 Pipet ขนาดต่าง ๆ

สารเคมีและน้ำยา
- Reagent A ชั่ง NH4F 1.11 กรัม ละลายใน 6 N. HCl 16.64 มล. ปรับปริมาตรให้เป็น 1 ลิตร (6 N. HCl เตรียมจากการเติม 53.4 มล. ของ HCl เข้มข้นลงในน้ำกลั่นปรับปริมาตรให้เป็น 150 มล.)
-Reagent B

- 1. 5 N. H2SO4 : เจือจางกรด H2SO4 เข้มข้น 70 มล. ด้วยน้ำกลั่น ปรับปริมาตรเป็น 500 มล.
- Potassium antimonyl tartarte solution : ละลาย 1.3715 กรัมของ K (SbO)C4H4O.1/2H2O ในน้ำกลั่น 400 มล. ปรับปริมาตรให้เป็น 500 มล. ใน Volumetric flask เก็บในขวดแก้วที่มีฝาปิด
- Ammonium molybdate solution : ละลาย 20 กรัม ของ (NH4)6MO7O24.4H2O ในน้ำกลั่น 500 มล. เก็บในขวดแก้วที่มีฝาปิด
- Ascorbic acid , 0.01 M : ละลาย 1.76 กรัมของ Ascorbic acid ในน้ำกลั่น 100 ml. สารละลายนี้จะ stable เป็นเวลา 1 สัปดาห์ ที่ 4 ๐C
- Combined reagent : ผสมน้ำยาใน 4 ข้อแรก ให้เป็น 100 มล. ตามลำดับดังนี้
  50 มล. 5 N. H2SO4
  5 มล. Potassium antimonyl tartrate solution
  15 มล. Ammonium molybdate solution
  20 มล. Ascorbic acid solution

ทิ้งให้น้ำยาแต่ละตัวเย็นจนถึงอุณหภูมิห้องแล้วผสมตามลำดับ เขย่าทุกครั้งที่ผสมน้ำยา ถ้าเกิดความขุ่น ให้เขย่าแล้วทิ้งไว้ 2-3 นาที จนความขุ่นหายไป แล้วค่อยผสมต่อ สารละลายนี้ stable เป็นเวลา 4 ชั่วโมง

Stock Phosphate Solution : KH2PO4 50 ppm P.
อบสาร Potassium dihydrogen phosphate ที่อุณหภูมิ 105๐C เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ชั่งมา 0.2195 กรัม ปรับปริมาตรให้เป็น 1000 มล.
Stardard Phosphate Solution : 10 ppm P.
เจือจาง 100 มล. ของ Stock Phosphate Solution ให้เป็น 500 มล. ใน Volumetric flask.

วิธีการวิเคราะห์

1 ชั่งดิน 2.5 กรัม เติม Reagent A 20 มล. เขย่า 1 นาที
2 ไปเปต 5 มล. Aliquot (ส่วนที่เป็นสารละลายใส) เติม 2 หยด ของ 2-4 dinitrophenol (0.25% ในน้ำกลั่น) เติม 2 N. Na2CO3 2-3 หยด จนสารละลายเป็นสีเหลืองและเติม 2 N. HCl จนสีเหลืองหายไป
3 เติม Combine Reagent 8 มล. เขย่าให้เข้ากัน ปรับปริมาตรให้เป็น 50 มล. เขย่าให้เข้ากันอีกครั้ง
4 ตั้งทิ้งไว้ 10 นาที แต่ไม่เกิน 30 นาที อ่านค่า absorbance ที่ความยาวคลื่น 800 นาโนเมตร นำ blank ควบคู่ไปด้วย เป็น reference solution

การคำนวณ
ppm.P in soil = (ppm.P in solution x 200)/wt. of O.D. soil

การเตรียม Standard P.
จาก standard phosphate solution 10 ppm.P.
1 มล. ปรับปริมาตรเป็น 50 มล. = 0.2 ppm.P.
2 มล. ปรับปริมาตรเป็น 50 มล. = 0.4 ppm.P.
3 มล. ปรับปริมาตรเป็น 50 มล. = 0.6 ppm.P.
4 มล. ปรับปริมาตรเป็น 50 มล. = 0.8 ppm.P.
5 มล. ปรับปริมาตรเป็น 50 มล. = 1.0 ppm.P.

เอกสารอ้างอิง
Jackson, M.L. 1958. Soil Chemical Analysis. Prentice - Hall, Inc., Englewood Cliffs, N.J.
American Public Health Association.1980. Standard Method for the Examination of Wates and Waste Water. 15 th.ed. APHA Washington , D.C.

อ้างอิง : http://www.vijai-rid.com



เขียนโดย : FarmKaset.ORG




ชื่อ: *
อีเมล: *
 
ความเห็น: *
ป้องกัน Spam: * < พิมพ์คำว่า คนไทย
   

ชั้นวางหนังสือ iLab.Asia

คุณรู้หรือไม่?
ในรายการวิเคราะห์เป็นวิธีการจากสำนักวิเคราะห์ทางเคมีสากล (AOAC) และสมาคมวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีสากล (ASTM) ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนของกลุ่มประเทศแถบเอเซีย-แปซิฟิก (APLAC) สากล (ILAC) และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วโลก ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังเป็นวิธีการใช้อ้างอิงในมาตรฐาน ISO/IEC 17025

Fast & Firm
ด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และเครื่องมือที่ทันสมัย ภายใต้การทำงานในระบบ ISO/IEC 17025 ซึ่งเป็นที่ยอมรับในหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนทั้งไทยและต่างประเทศ
ตรวจดิน: ด้วยเครื่องมือตรวจดินที่ทันสมัย